วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

Présent

Je m'appelle Petch JITCHURN
Je suis née le  20 ans
Je suis éléves a l'école Navamindarajudis Phayap 

Je suis Sympa et mingon
J'aime le foot ball
Je n'aime pas Mathématique

facebook:petkung001@hotmail.com

เพิ่มคำอธิบายภาพ

 Le responsable
-หาข้อมูล



ประวัติความเป็นมา : "เชี่ยนหมาก เป็นภาชนะสำหรับใส่หมากพลูของคุณย่า คุณยาย ที่ปัจจุบันคงหาดูได้ยากมากแล้ว เด็กในปัจจุบันคงไม่มีใครรู้จัก "เชี่ยนหมาก" นอกจากในชนบทห่างไกล ที่ยังมีคุณย่า คุณยาย กินหมากกันอยู่ เชี่ยนหมาก เป็นเสมือนสิ่งที่ใช้ในการต้อนรับแขกประจำบ้านในสมัยก่อน ไม่ว่าแขกไปใครมาเยี่ยมเยียน เจ้าของบ้านก็จะยกเชี่ยนหมากมาต้อนรับ กินหมากกินพลูกันไปคุยกันไป ช่วยให้บรรยากาศเป็นกันเอง เป็นธรรมเนียมพื้นบ้านไทยอย่างหนึ่ง ลักษณะของเชี่ยนหมากหรือกะผองหมาก :ประกอบไปด้วย ทำมาจากไม้เนื้ออ่อน ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก้นของเชี่ยนหมากเป็นพื้นเรียบใช้ไม่แผ่น รูปเชี่ยนหมากทรงสูง 1 เชี่ยนหมากมีอยู่ 2 ช่อง แต่ละช่องมีสิ่งของอยู่ข้างใน เช่น ตลับหมาก,ตลับยาเส้น,กระปุกปูน,ซองใส่หมากพลู,เต้าปูนที่ใส่ปูนแดงไว้,หมากสดและหมากแห้ง,กรรไกรหนีบหมากและตะบันหมาก นอกจากนั้นยังมีสิ่งของกระจุกกระจิกที่อยู่ในเชี่ยนหมากอีกหลายอย่าง เช่น สีผึ้ง,เข็มเย็บผ้า,ด้ายเย็บผ้า,ปุยฝ้าย,ถ้ำยาดม,พิมเสน,การะบูน,ยาหม่อง และเศษเงินเหรียญที่อยู่ในเชี่ยนหมาก เชร่ยนหมาก อาจจะบ่งบอกถึงฐานะของเจ้าของได้ เพราะทำจากวัสดุ ที่แตกต่างกันไปตามฐานะ ชาวบ้านทั่วไป มักจะทำเชี่ยนหมากด้วยไม้ธรรมดา ๆ หรืออาจหากล่อง ใบใหญ่ ๆ มาทำเชี่ยนหมาก หากมีฐานะดีหรือมีหน้าที่การงานดี เชี่ยนหมากอาจจะทำด้วยทองเหลือง ทองลงยา ไม้แกะสลัก หรือเป็นเครื่องถมเงินถมทองประดับมุขก็ได้


การกินหมาก ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมของคนไทยอย่างหนึ่ง จากเอกสารของจีนโบราณได้กล่าว ถึงกลุ่มชนฟันดำซึ่งหมายถึงคนกินหมาก เมื่อ 200 ปี อยู่ทางทิศใต้ซึ่งหมายถึงไทย และลาว ในสมัยสุโขทัยมีหลักฐานจากศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงว่า  “ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมัน สิ้”   ซึ่งมีการปลูกหมากปลูกพลู  และมีวัฒนธรรมในการกินหมากสืบต่อเนื่องมาถึงสมัยอยุธยา
     จากหลักฐานที่พบที่ชุมชนบ้านเก่า บางกระบือ เต้าปูนทองแดง/สำริด  แสดงให้เห็น ว่าคนในชุมชนบ้านเก่ามีการกินหมาก เป็นสำรับเรียกว่า “เชี่ยนหมาก” มีอุปกรณ์ประกอบด้วย ตลับใส่ยาเส้น ใส่หมากแห้ง สีผึ้ง สีเสียด เต้า ปูนใส่ปูนแดง ซองพลูใส่ใบพลู  กรรไกรหนีบหมาก ครกหรือตะบันหมาก กระโถนบ้วนน้ำหมาก 
     เชี่ยนหมากเป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมของไทยในสมัย โบราณได้  เช่น พวกขุนนางและพระเจ้าแผ่นดิน จะพระราชทานเครื่องประดับยศมีหีบหมากทองคำ  ดาบ  เรือยาว สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ  ทาสสำหรับใช้สอย 

  ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามา  ได้แต่งหนังสือไว้เรียกว่า “จดหมายเหตุของลาลูแบร์”  บันทึกเรื่องราว ในสมัยอยุธยาไว้เป็นอันมากได้กล่าวถึงเรื่อง การกินหมากของคนไทยในสมัยอยุธยาไว้ว่า “เป็นธรรมเนียมเจ้าของบ้านต้องยอมให้แขก ที่มาสู่เหย้านั่งที่ตนเคยนั่ง และต้องเชื้อเชิญให้ยอมนั่ง  ภายหลังก็ยกผลไม้ ของว่างและของหวานมาเลี้ยง  บางที่ก็ถึงเลี้ยงข้าวปลาด้วยและข้อสำคัญนั้นเจ้าของบ้าน ต้องส่งเชี่ยนหมากแลทีชาให้แขกรับประทาน ด้วยมือเอง  ถ้าเป็นราษฎร์สามัญแล้วไม่ลืมเลี้ยง เหล้า”  
     จากบันทึกอีกตอนหนึ่งของบาลูแบร์ กล่าวไว้ว่า “ในพระราชมณเทียรพระมหากษัตริย์นั้น ข้าราชการที่เข้าเฝ้าไม่กล้าไอ จาม หรือบ้วนน้ำหมาก ถ่มเสลด และไม่กล้าสั่งมูลนาสิก  หมากที่อมติดปากไว้  นั้นก็กลืนน้ำหมากเอือก ๆ ให้หายเข้าไปในคออย่างแช่มชื่น” วัฒนธรรมการกินหมาก สืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งไม่ให้มีการค้าขายหมาก  ทำให้คนไทยเลิกกินหมาก   วัฒนธรรมการกินหมากกับสังคมไทยก็ค่อย ๆ เลือนหาย ไป 




เชี่ยนหมาก หรือ ขันหมากของอีสาน
2/#.UPvKTR10lpshttp://thaicreative.net/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD-2/#.UPvKTR10lps

วัฒนธรรมการกินหมาก
http://www.aksorn.com/lib/detail_print.php?topicid=772